เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)


ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๐๘ - ๒๔๒๗) และ

governor6เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เป็นบุตรของพระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง) เจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ ๓ โดยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ ๖ สืบต่อจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) ผู้มีศักดิ์เป็นอา ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤหัยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการอยู่ในกรุงเทพฯมาแต่เล็ก

เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) รับสนองพระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแม่กองควบคุมการสร้างพระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน และเก๋งจีนเพื่อชมวิวเมืองสงขลาและศึกษาดาราศาสตร์ ดังเช่นพระนครคีรีที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมีบันไดอย่างดีขึ้นถึงยอด เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์และมีความละเอียดในการทำบัญชีรายการก่อสร้างเป็นหลักฐานครบถ้วนโดยละเอียด เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ได้สานต่อการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจสงขลา-ไทรบุรี-ปีนัง

ต่อจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) จนสำเร็จเรียบร้อย ทำให้เมืองสงขลาเจริญเคียงคู่ขึ้นกับเกาะปีนังมาตามลำดับ และในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ได้จัดการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากเสด็จฯ กลับจากประพาสอินเดีย โดยได้เสด็จขึ้นที่เมืองไทรบุรีมาตามถนนเพื่อเสด็จลงเรือที่เมืองสงขลากลับสู่พระนคร นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ข้ามแหลมมลายูทางสถลมารคเป็นครั้งแรก

เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) สมรสกับท่านผู้หญิงสุทธิ์ ธิดาของพระยารัตนโกษา (บุญเกิด) ชาวกรุงเทพฯ ท่านผู้หญิงสุทธิ์เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและเป็นผู้สร้างวัดสุทธิวรารามที่กรุงเทพฯ รวมทั้งสร้างอุโบสถภายในวัดแจ้งที่เมืองสงขลา ซึ่งวัดดังกล่าวนี้ ยังมีโบราณสถานที่สำคัญสำหรับบุคคลในตระกูล ณ สงขลา นั่นคือ บัวบรรจุอัฐิของตระกูล ณ สงขลา ๒ บัว ซึ่งสามารถถอดชิ้นส่วนออกและประกอบกลับเข้าที่ตามทรงเดิมได้๖ เมืองสงขลาในยุคนั้นได้เจริญรุดหน้าเป็นอย่างมากจากการปกครองของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) โดยมีพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) บุตรชายคนโตเป็นผู้ช่วยราชการเมือง และได้รับพระมหากรุณาพระราชทานตราสืบตระกูลวางตัวให้เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อมา แต่เหตุการณ์ไม่เป็นไปตามคาดหวัง เนื่องจากพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) ได้ถึงแก่อนิจกรรมไปก่อน และเป็นเหตุให้เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) มีอาการป่วยด้วยความเสียใจและถึงแก่อนิจกรรมใน ๒ ปีต่อมา

บ้านส่วนตัวของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) ซึ่งเป็นอาคารตามแบบสถาปัตยกรรมจีน มีความสวยงาม โอ่โถง ซึ่งภายต่อมาได้ใช้เป็นจวนและว่าราชการของข้าหลวงพิเศษมณฑลนครศรีธรรมราชตรวจราชการเมืองสงขลา และศาลากลางจังหวัดจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๖ และได้รับการบูรณะเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลาในปัจจุบันพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร์) เป็นบิดาของพระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลาลำดับที่ ๘ และพระอนันตสมบัติ (เอม) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาคนสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อดีตองคมนตรี ๓ รัชกาล อดีตรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และพระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) อดีตคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และองคมนตรี ๒ รัชกาล และมีผู้สืบเชื้อสาย เช่น พันเอก จินดา ณ สงขลา
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ i was reading this.) นายแพทย์ญาใจ ณ สงขลา อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์วิรัช ณ สงขลา และรุ่นต่อมา เช่น ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ดร. จิตรพัฒน์ ไกรฤกษ์ รองราชเลขาธิการ

ธิดาของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) กับท่านผู้หญิงสุทธิ์ ท่านหนึ่งมีนามว่าท่านปั้น ได้สมรสกับหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) และเป็นต้นกำเนิดลูกหลาน ณ สงขลา สายจารุจินดา จารุรัตน์ และวัชราภัย มีผู้สืบเชื้อสายและสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ อาทิ พระยาลพนรินทรเรืองศักดิ์ราชสภาบดี (วงษ์ จารุจินดา) อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา หลวงชนานุกูลกิจ (จวง จารุจินดา) นายอำเภอบางรักคนแรก พล.ต.อ. เสริม จารุรัตน์ อดีตหัวหน้านายตำรวจประจำพระราชสำนัก ท่านผู้หญิงเชื้อชื่น บุนนาค ผู้สืบเชื้อสายจากพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) และนายปรีชา วัชราภัย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นต้น

บุตรของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ผู้หนึ่งนามว่า นายปริ่ม รับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง มีผู้สืบสกุล อาทิ (๑) นายเฉลิม ณ สงขลา บิดาของนายฉลู และ นายแพทย์ฉลอง ณ สงขลา และนางศุพัจไฉน  (ณ สงขลา) อัมพุประภา และ (๒) เจ้าแม่จำรัสศรี สมรสกับเจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง มีผู้สืบสกุล อาทิ เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง

บุตรของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) อีกผู้หนึ่ง คือ พระกาญจนดิฐบดี (อวบ ณ สงขลา) ผู้ว่าราชการเมืองกาญจนดิฐ ซึ่งเป็นบิดาของหลวงอภิรมย์โกษากร (ดิษฐ ณ สงขลา) อดีตปลัดกรมพระคลังกลาง ผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์คนแรก (พ.ศ. ๒๔๙๖) และเป็นบิดาของพลโท นายแพทย์ อมฤต ณ สงขลา อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และอดีตเจ้ากรมแพทย์ทหารบก

 

 

Back to Top